อว.ชี้นักวิจัยซื้อผลงาน ผิดจริยธรรม ร้ายแรง จี้มหา’ลัยหาข้อเท็จจริง

การศึกษา อว.ชี้นักวิจัยซื้อผลงาน ผิดจริยธรรม ร้ายแรง

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวว่ามีนักวิจัยจำนวนหนึ่งได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ 

ผ่านการซื้อผลงานเพื่อให้ตัวเองได้มีชื่ออยู่ในบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ทางกระทรวง อวจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเร่งด่วนและติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นการผิดจริยธรรมทางวิชาการอย่างชัดเจนขอขอบคุณนักวิชาการและสื่อมวลชนที่ห่วงใยและได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อกระทรวง อวว่ามีกลไกที่เป็นช่องโหว่ในการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการโดยที่บุคคลที่มีชื่ออยู่ในบทความนั้นอาจไม่ได้เป็นผู้วิจัยในโครงการจริง เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มงวดและจริงจัง หากพบว่าดำเนินการจริงต้องถือเป็นความผิดและลงโทษอย่างรวดเร็ว  รมว.อวกล่าว

ด้าน .ดร.นพสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อวกล่าวเพิ่มเติมว่า ตาม ...การอุดมศึกษา ..2562 มาตรา70 ระบุว่า “ห้ามมิให้ผู้ใด จ้าง วาน ใช้ให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเพื่อใช้ในการทำผลงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขอตำแหน่งทางวิชาการหรือเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินอื่นในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ก็ตาม  ห้ามมิให้ผู้ใดรับจ้างหรือรับดำเนินการตามวรรคหนึ่งเพื่อให้ผู้อื่นนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือโดยสุจริตตามสมควร โดยหากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  และยังมีประกาศเรื่อง มาตรฐานการวิจัย โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระบุถึงมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ รวมทั้งจริยธรรมนักวิจัยด้วย ดังนั้น การที่มีนักวิจัยได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ผ่านการซื้อผลงานเพื่อให้ตัวเองได้มีชื่ออยู่ในบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ จึงเป็นการผิดจริยธรรมทางวิชาการ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยมีหน้าที่ในการเคร่งครัดดูแลให้บุคลากรดำเนินการให้ถูกต้องไม่ผิดหลักจริยธรรม และสำนักงานปลัดกระทรวง อวโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (กพอและคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) จะต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

ปลัดกระทรวง อว.กล่าวต่อว่า กระทรวง อวได้แจ้งย้ำไปยังที่ประชุมอธิการบดีของมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน และหน่วยงานวิจัยต่างๆ ให้ตรวจสอบข้อมูลของบุคลากรอย่างใกล้ชิด ตามแนวทางในการกำกับจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานวิจัย รวมทั้งการนำผลงานที่ผิดจริยธรรมมาขอตำแหน่งวิชาการ หากตรวจพบประเด็นใดให้ดำเนินการทันทีและป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำในลักษณะนี้อีก

กระทรวง อวได้จัดให้มีทีมงานส่วนกลางเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในเชิงลึกแล้ว ขอขอบคุณท่านที่ได้ให้ข้อมูลมายังสำนักปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.)  และหากมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมสามารถแจ้งข้อมูลมายัง สป.อวได้ทันที” ปลัดอวกล่าว

การศึกษาที่เกี่ยวข้อง>>>>> ‘ศรีสุวรรณ’ ร้อง ‘ตรีนุช’ เร่งตรวจสอบหลังพบ ย้าย ผอ.โรงเรียนดังสมุทรปราการ ส่อทุจริต

‘ศรีสุวรรณ’ ร้อง ‘ตรีนุช’ เร่งตรวจสอบหลังพบ ย้าย ผอ.โรงเรียนดังสมุทรปราการ ส่อทุจริต

“ศรีสุวรรณ จรรยา” ร้อง “ตรีนุช เทียนทอง” สอบการพิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สมุทรปราการ ที่อาจส่อไปในทางใช้อำนาจโดยมิชอบ

ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เดินทางมายื่นหนังสือ เรื่อง ร้องเรียนขอให้ใช้อำนาจในการสั่งการให้มีการตรวจสอบการพิจารณาย้ายผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สมุทรปราการ ที่อาจส่อไปในทางใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย/ระเบียบ หรืออาจทุจริตต่อหน้าที่ ถึง น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. โดยมีพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัด ศธ. และนายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นผู้รับเรื่องแทน

การศึกษานอกระบบ

นายศรีสุวรรณกล่าวว่า ทางสมาคมฯ ได้ตรวจสอบกระบวนการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาใน สพม.สมุทรปราการ พบความผิดปกติเกี่ยวกับการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาเข้าไปแทนคนที่เกษียณอายุราชการของโรงเรียนชื่อดัง ใน จ.สมุทรปราการ อันอาจส่อไปในทางทุจริตและประพฤติมิชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจ สมาคมฯ จึงอยากให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ในฐานะผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน สั่งการให้มีการตรวจสอบ และหยุดยั้งกระบวนการใช้อำนาจที่ส่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตนพบพิรุธการใช้เส้นสายเข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน แม้ ศธ.จะมีขั้นตอนวิธีการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอย่างชัดเจน ตั้งแต่การสอบคัดเลือก สอบสัมภาษณ์ และมีการเรียงลำดับผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 1-4 แล้ว ซึ่งตามปกติแล้ว ผู้ที่ได้คะแนนลำดับที่ 1 ควรจะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน แต่กลับมีความพยายามแต่งตั้งผู้ที่ได้ลำดับที่ 4 มาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนแทน

“เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะผมทราบว่ามีนักการเมืองขาใหญ่ในพื้นที่พยายามที่จะกดดันให้การแต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียนให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ สมาคมฯ จึงเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ดำเนินการตรวจสอบอย่างจริงจัง เพราะไม่อยากให้มีการใช้อำนาจไม่ถูกต้องเหมาะสม” นายศรีสุวรรณกล่าว

ด้านพัฒนะกล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษามาตั้งแต่เดือนกันยายนแล้ว แต่ในกรณีของการแต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.สุมทรปราการ มีปัญหาเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ถูกย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี จึงต้องรอให้ผู้ว่าราชการคนใหม่มาดำเนินการ ซึ่งตนได้ประสานไปยังผู้อำนวยการเขตพื้นที่ฯ แล้วพบว่า ขั้นตอนการแต่งตั้งโยกย้าย ผู้อำนวยสำนักเขตพื้นที่ฯ ที่อยู่ในพื้นที่ และศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ร่วมกันจัดทำคะแนนการคัดเลือกตามองค์ประกอบที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว แต่สาเหตุที่ไม่สามารถทำให้เสร็จทันเดือนกันยายน เพราะยังไม่มีการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (อกศจ.) อย่างไรก็ตาม ปลัด ศธ. ได้ส่งหนังสือแจ้งลงไปแล้วว่าในกรณีที่ไม่มี อกศจ. พิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย สามารถเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ดำเนินการได้ทันที ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธาน กศจ. นัดประชุมเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง